ข่าวสารและกิจกรรม
หนังสือพิมพ์แนวหน้า
'คนเราต้อง คิดนอกกรอบ
ผมว่าคนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องค้นหาตัว
เองให้เจอ..เราวางคอนเซ็ปต์ในการทำตลาดว่า
ผลิตภัณฑ์นั้นต้องทำยาก และต้องใช้ เวลา
ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่มีคนทำเยอะแล้ว
จึงมาลงท้ายที่ซอฟต์แวร์ระบบติดตามยานพาหนะ'
เส้นทางการก้าวย่างจากอาชีพ 'ลูกจ้าง'
สู่การเป็นเจ้าของกิจการ ล้วนเต็มไปด้วย ขวากหนาม และความเสี่ยง
หลายรายประสบกับการขาดทุน แต่ก็มีหลายรายเช่นกันที่ประ
สบความสำเร็จ เช่นเดียวกับ
'ชัยวัฒน์ สุทธิ' ที่ยอมทิ้งเงินเดือนสูงๆ ใน บริษัททรู
คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน)แล้วใช้เงินทุนส่วนตัวมาตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ในชื่อ
บริษัท เดอะไวร์เลส อินโน เวชั่น จำกัด ค้นหาหนทางสู่การเป็น
'เถ้าแก่' ใหม่
สำหรับนักธุรกิจหนุ่มวัย 31 ปี ผู้นี้ เกิดที่ จ.สุราษฎร์ธานี
ข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาศึกษา คณะวิศวกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อปี 2540
กระทั่ง จบปริญญาตรี เริ่มชีวิตลูกจ้างด้วยการทำงานที่ บริษัท
ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)และ ในช่วงนั้นได้ทำงานไปด้วย
เรียนไปด้วย กระทั้งจบปริญญาโทด้านเทคโนโลยีแมนเนจเม้นท์ ที่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
'ผมทำงานที่ ทรู ตำแหน่งวิศวกรเครือข่าย ด้านดาต้า เกี่ยวกับ
ดีไซน์ระบบสื่อสาร ระหว่างนั้นก็เรียนปริญญาโทไปด้วย ทำให้เราคิด
นอกกรอบ เรามองว่าบางคนคิดอยู่ในกรอบ ของตัวเอง
มองมิติใดมิติหนึ่ง แต่จริงๆ
ผมว่าคนเราจะประสบความสำเร็จต้องค้นหาตัวเอง ให้เจอ ที่สำคัญคือ
ต้องมองนอกกรอบ..ผมจึงลาออกจากบริษัทใหญ่(ทรู
คอร์ปอเรชั่น)มาตั้ง บริษัทของตัวเอง
ไม่เสียดายเงินเดือนสูงๆ..อยู่บริษัทขนาดใหญ่ก็มีความเสี่ยง
เรามาทำบ ริษัทเล็กๆ ก็มีความเสี่ยง
อยู่ที่ว่าเราจะบริหารความเสี่ยงอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ'ชัย
วัฒน์ ซึ่งปัจจุบันเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัทเดอะไวร์เลส
อินโนเวชั่น จำกัด กล่าวกับ 'แนวหน้า โลกธุรกิจ' การเริ่มธุรกิจส่วนตัวของเขา
เริ่มต้นเมื่อปี 2545 ร่วมกับเพื่อนๆ วิศวกรประมาณ 5 คน
รวมทีมขึ้นมา โดยใช้ทุนส่วนตัวจริงๆ
ใช้เวลาหลังจากการเลิกงานตอนเย็นๆ มา คิดระดมสมองคิดร่วมกัน
กระทั่งกลายเป็น เดอะไวร์เลส อินโนเวชั่น ในที่สุด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 1
ล้านบาท เดอะไวร์เลส อินโนเวชั่น เริ่มรับงานใน
ช่วงแรกด้วยการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส จำกัด (ม หาชน)หรือ เอไอเอส และบริษัทอื่นๆ
ตามมาอีกหลายบริษัท
'เรารับงานเป็นลักษณะโปรเจกท์ เราไม่มีนายทุน ไม่ได้กู้แบงก์
กระทั่งเรามีแนวคิดที่ จะสร้างโปรดักส์ของเราเอง
โดยมีคอนเซ็ปต์ในการทำตลาดที่ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นต้องทำยาก และ
ต้องใช้เวลา ไม่ใช่มีคนทำเยอะแล้ว
จนมาลงที่การคิดค้นระบบซอฟต์แวร์ระบบติดตามยานพาหนะ ที่ชื่อว่า
Tracking Technology เราก็เริ่มออกแบบตั้งแต่ซอฟต์แวร์ และ
ฮาร์ดแวร์ และ
พัฒนาปรับปรุงจนสมบูรณ์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา'ชัยวัฒน์ กล่าว
Tracking Technology
เป็นระบบซอฟต์แวร์ติดตามยานพาหนะ โดยผู้ใช้บริการที่
สมัครใช้บริการนี้ อาทิ ผู้ประกอบการขนส่ง กลุ่มรถแท็กซี่
สามารถเช็คว่า ขณะนี้รถวิ่งอยู่ ณ จุดใด โดยเข้าไปที่เว็บไซต์
www.thaitracking.com โดยเว็บไซต์นี้จะแสดงแผ่นที่,แสดง พิกัด ณ
จุดที่รถวิ่งอยู่ นอกจากนี้
ผู้ใช้บริการยังสามารถทราบอัตราความเร็วในการขับเคลื่อน
เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ด้วย ขณะที่การทำงานของ Tracking จะมี 'กล่องดำ'
ที่ติดอยู่ในตัวรถจะมีการส่งข้อมูลไป ยังดาวเทียม GPS(Global
Positioning System)ขององค์การนาซา ของ สหรัฐอเมริ กา
ก่อนส่งกลับมาเซิร์ฟเวอร์ ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด
(มหาชน)โดยแสดงผล ทางเว็บไซต์ของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าแล้วหลายราย อาทิ
สหกรณ์แท็กซี่ ที่มีสมาชิกประมาณ 500 คัน มาสมัครใช้บริการ
นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการขนส่ง และในอนาคตบริษัทมีแผนทำตลาดใน
กลุ่มผู้ใช้รถส่วนตัว เพื่อติดตามรถในกรณีรถโดนโจรกรรม
บริษัทตั้งเป้าไว้ว่าในปีนี้จะมีลูก ค้า 5,000 ราย
คาดว่าจะมีจุดคุ้มทุนภายใน 1 ปี
ในส่วนค่าบริการจะเป็นค่าอุปกรณ์ติดตั้ง ประมาณ 2 หมื่นต้นๆ
นอกจากนี้ ยังมีค่าบริการรายเดือนต่อคันอยู่ที่ 500 บาท
มีบริการหลัง การขาย
ในตอนท้าย ชัยวัฒน์ บอกว่า การทำธุรกิจส่วนตัวนั้น เขายึด
'สมการ' ที่ว่า Vision (วิสัยทัศน์)+Opportunity(โอกาส)เท่ากับ
Knowledge(ความรู้)+Innovation(นวัต กรรม) 'ซึ่งก็หมายความว่า สมการข้างหนึ่งเราต้องมี
วิสัยทัศน์ บวกกับ โอกาส กล่าวคือ เรามองว่าตลาดมี ดีมานด์
ความต้องการมากน้อยเพียงใด หรือเมื่อทำสินค้าออกมาแล้วมี
คนซื้อหรือไม่ เมื่อมีข้างหนึ่งแล้ว
อีกข้างหนึ่งคือต้องมีความรู้ แต่ถ้ามีความรู้อย่างเดียวก็
เหมือนมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ฉะนั้น
เราต้องนำความรู้นั้นมาต่อยอดสร้างนวัตกรรม
โดยการนำมาดัดแปลงทำให้ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ'ชัยวัฒน์
กล่าวในตอนท้าย
|
|
|